วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมัวย
 ครั้งที่ 9 วันที่ 5 มกราคม
 2557
เวลา 08.30 - 12.20 น.  กลุ่มเรียน 104
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ


สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ได้ทบทวนเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์ทั้งหมด 6 สาระและได้เรียนรู้เกี่ยวกับ 6กิจกรรมหลักสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีดังนี้       
  
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ

2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง

3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก

4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้

5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก
6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเคลื่อนไหวตามจังหวะ  เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ รูปทรงและทิศทางของการเคลื่อนไหว สัญลักษณ์  การนับจำนวน เรียนรู้แบบรูป และการจับคู่แบ่งกลุ่ม

คณิตศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  เด็กได้ออกแบบท่าทางรูปทรง ทิศทางการเคลื่อนไหวเด็กได้คิดสร้างสรรค์และเหมาะสมกับพัฒนาการ 
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเล่นเสรี  เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรี ตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย ให้เด็กรู้จักคิดวางแผนและตัดสินใจในการทำกิจกรรม
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง  เด็กเรียนรู้เรื่องการนับ ความช้า เร็ว ความสูง ขนาด ทิสทางการแกว่ง เช่น การเล่นชิงช้า 
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเกมการศึกษา  

1. เกมจับคู่

- จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน

- จับคู่ภาพเงา
- จับคู่ภาพสัมพันธ์
- จับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
- จับคู่ภาพกับโครงร่างฯลฯ
2. เกมภาพตัดต่อ (ที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน )
3. เกมจัดหมวดหมู่
4. เกมโดมิโน
5. เกมเรียงลำดับ
คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับระยะเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น